วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิธีการป้องกัน บุตรหลาน กดซื้อเพชรในเกมดัง

วิธีการป้องกัน บุตรหลาน กดซื้อเพชรในเกม Cookie Run หรือไอเท็มอื่นๆ ทั้งบน Android และ iOS
กลายเป็นข่าวดังกระฉ่อนกันเลยทีเดียวครับ หลังจากที่มีข่าว สาวใหญ่เมืองสุพรรณ ได้รับบิลค่าโทรศัพท์รายเดือน เป็นจำนวนเงิน 2 แสนกว่าบาท เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า เกิดจากลูกชายตนเอง นำไปใช้ซื้อเพชรในเกม Cookie Run แบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และไม่คาดคิดว่า จะมีค่าใช้จ่ายบานปลายขนาดนี้
ซึ่งปัจจุบัน เครือข่าย AIS ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ คุณแม่ผู้เคราะห์ร้ายรายนี้ ใช้บริการอยู่ ได้มีบริการที่เรียกว่า AIS 3G Billing บริการเกี่ยวกับ แอพพลิเคชั่น ทางอินเทอร์เน็ต อาทิเช่น การสมัครใช้งาน หรือซื้อไอเท็ม และ คอนเทนต์ ผ่านทาง Google Play Store ซึ่งทาง AIS จะเป็นผู้รับชำระค่าสินค้าและบริการเหล่านี้ ให้กับทาง Play Store ด้วยการหักจากบิลค่าโทรศัพท์ของเครือข่าย AIS ทั้งแบบรายเดือน และแบบเติมเงิน โดยที่ผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องมีบัตรเครดิตแต่อย่างใด ซึ่ง จุดนี้ ถือว่า สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว แต่ถ้าหากใช้ผิดประเภท หรือมีลูกหลานแอบเอา มือถือ ของเราไปใช้ ก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกับข้างต้นได้ครับ
สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ได้เกิดกับผู้ใช้ มือถือแอนดรอยด์ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในต่างประเทศ ก็เคยมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ทั้งบน Android และ iOS จนถึงขั้นฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกันเลยทีเดียว ปัญหา หลักๆ ส่วนใหญ่ก็คือ ลูกหลานของเรา รู้รหัสผ่านทั้งบน Play Store และ App Store ซึ่งเกิดขึ้นจากตัวผู้ปกครองเอง จะเผลอล็อกอินค้างไว้ หรือบรรดาหนูน้อย จะแอบรู้มาเองก็ตาม โดยวิธีการป้องกันก็คือ ไม่ควรบอกรหัสผ่านให้ใครทราบ จะเป็นวิธีการป้องกันได้เป็นอย่างดีครับ
โดยในวันนี้ ทีมงาน techmoblog มีวิธีการปิดการใช้งาน In-App Purchase ทั้งบน iOS และ Android มาฝากกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ เจ้าของมือถือ เสียเงินจากการซื้อไอเท็มในเกมแบบไม่รู้ตัว มาชมกันครับว่า มีวิธีการอย่างไรกันบ้าง
วิธีการปิดการใช้งาน In-App Purchase บน iOS
src=http://www.techmoblog.com/uploads/content_images/201406/images_14035077161.jpg
เข้าไปที่ Settings > General > Restrictions
src=http://www.techmoblog.com/uploads/content_images/201406/images_14035077362.jpg
เลือก Enable Restrictions เพื่อเปิดใช้งาน จากนั้นใส่รหัส Pascode ลงไป ข้อแนะนำก็คือ รหัส Passcode ตัวนี้ ควรจะเป็นคนละตัวเลขกับ Passcode สำหรับปลดล็อคหน้าจอนะครับ (แต่สามารถใช้ตัวเลขเดียวกันได้) และที่สำคัญ ห้ามบอกรหัสผ่านกับคนอื่นด้วย
src=http://www.techmoblog.com/uploads/content_images/201406/images_14035076463.jpg
เสร็จแล้ว ให้ปิดการใช้งาน In-App Purchase ครับ หรือจะรวมถึง iTunes Store และ iBook Store ด้วยก็ได้ เพียงแค่นี้ ก็จะช่วยไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายแปลกปลอมขึ้นได้ครับ
นอกจากนี้ วิธีการป้องกันสำหรับผู้ใช้งาน iOS อีกวิธีหนึ่งก็คือ ไม่ใส่เลขที่บัตรเครดิต ผูกติดกับ Apple ID สามารถเข้าไปแก้ไขได้ที่ Settings > iTunes & App Store แล้วคลิกที่ Apple ID > View Apple ID > ใส่รหัสผ่าน ในส่วนของ Payment Information ถ้าหากมีการผูกกับบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็น Visa หรือ Mastercard ให้เลือกเป็น None ครับ
ให้ใส่รหัสผ่านทุกครั้ง ที่มีการซื้อ หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น และคอนเทนต์
ในส่วนของผู้ใช้ iOS เคยเกิดปัญหา กรณีล็อกอินค้างไว้ และถ้าหากมีการซื้อไอเท็มภายในเวลา 15 นาที จะไม่มีป็อบอัพแจ้งเตือนให้ใส่รหัสผ่าน Apple ID และนั่นก็ถือว่า เป็นจุดอ่อนสำหรับผู้ใช้ได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ทาง Apple จึงเปลี่ยนกฏใหม่ สามารถแจ้งให้ใส่รหัสผ่านทุกครั้งได้ เมื่อมีการซื้อ หรือดาวน์โหลดแอพฯ มาดูวิธีการตั้งค่ากันครับ
src=http://www.techmoblog.com/uploads/content_images/201406/images_14035081724.jpg
จาก General > Restrictions หน้าเดิมด้านบน ให้เลื่อนลงมา จะเจอคำว่า Require Password ให้เปลี่ยนจาก 15 minutes มาเป็น Immediately เพียงแค่นี้ ก็เรียบร้อยครับ แต่อย่าลืมว่า ห้ามบอกรหัสผ่านแก่ใครทั้งสิ้น
บน iOS 8 ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปด้วย Family Sharing
src=http://www.techmoblog.com/uploads/content_images/201406/images_14017402051.jpg
iOS 8 ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ที่มีชื่อว่า Family Sharing ที่สามารถแอด บุคคลในครอบครัวได้สูงสุด 6 คนด้วยกัน ข้อดีก็คือ ทุกๆ ครั้งที่มีการซื้อแอพฯ บน App Store จะมีการแจ้งเตือนไปยัง ผู้ปกครอง ก่อน ทำให้หมดปัญหาเรื่อง บุตรหลานเผลอไปกดซื้อแอพฯ ได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้ ยังสามารถแชร์รูป, ตารางนัดหมายต่างๆ รวมไปถึง แชร์ Location ได้อีกด้วย
วิธีการเปิดฟังก์ชัน ให้ใส่รหัสผ่านทุกครั้ง เมื่อมีการซื้อไอเท็มบน Play Store [Android]
มากันที่ อุปกรณ์ในระบบปฏิบัติการ Android กันบ้างครับ วิธีการป้องกันเบื้องต้น ก็คือ เปิดใช้งานฟังก์ชัน ให้ใส่รหัสผ่านทุกครั้ง เมื่อมีการซื้อ ไอเท็ม หรือ คอนเทนต์ ผ่าน Play Store นั่นเอง มาดูกันว่า ทำได้อย่างไรบ้าง
src=http://www.techmoblog.com/uploads/content_images/201406/images_14035159471.jpg
เข้าไปที่ Play Store ปัดหน้าจอไปด้านซ้าย เพื่อเปิดเมนูขึ้นมา เลือก การตั้งค่า
src=http://www.techmoblog.com/uploads/content_images/201406/images_14035160532.jpg
คลิกที่ ต้องป้อนรหัสผ่านเพื่อสั่งซื้อ (Require password for purchases) แล้วเลือกเปิดใช้งานแบบ สำหรับการสั่งซื้อทั้งหมดผ่านทาง Google Play บนอุปกรณ์นี้ และอย่าลืมว่า อย่าบอกรหัสผ่านให้ใครทราบด้วยนะครับ เพียงแค่นี้ก็เรียบร้อย
สนับสนุนเนื้อหา: www.techmoblog.com
ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> hitech.sanook.com

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อย่าโง่! หลงเชื่อ! ข้อมูลที่ว่า “การพันสายชาร์จทำให้คุณภาพการใช้งานลดลง”

อย่าโง่! หลงเชื่อ! ข้อมูลที่ว่า การพันสายชาร์จมือถือและหูฟังจะให้คุณภาพการใช้งานลดลง
เมื่อวานนี้ทีมงานเห็นบทความเกี่ยวกับ การพันสายที่ชาร์จมือถือกับหูฟังด้วยเม็ดบีทฟรุ้งฟริ้ง หรือเกลียวพลาสติกอะไรก็แล้วแต่ว่ามันทำอันตรายให้แก่สายชาร์จและหูฟัง อาจจะทำให้สายไหม้ได้เลยเนื่องด้วยความร้อนที่เพิ่มขึ้นเพราะสายไฟระบายความ ร้อนไม่ทัน โดยข้อมูลที่ว่านี้มีการอ้างถึงแหล่งข้อมูลแรกก็คือคนที่เรียนช่างไฟมา (ช่างไฟในตำนานรึเปล่า…ผมไม่เล็กนะครับ #ผิด นั่นมันช่างแอร์) ก็มีการแชร์บทความนี้ไปเยอะแยะมากมาย เอาเป็นว่าเรามาวิเคราะห์กันทีละจุดดีกว่าครับ ว่าตกลงแล้วสายชาร์จและหูฟังโทรศัพท์เนี่ยสามารถพันสายได้รึเปล่า แล้วมันเป็นอันตรายจริงหรือ?
1389135572-photo-o
อันดับแรกขออ้างถึงเนื้อหาในบทความบางส่วนก่อนนะครับ
การ พันสายชาร์จมือถือและหูฟังจะให้คุณภาพการใช้งานลดลงตามไปด้วยนะครับเนื่อง จากการใช้งานทั้งการชาร์จไฟ และที่หูฟัง จะเกิดความร้อนขึ้นในสายชาร์จและหูฟัง…กรณีที่สายชาร์จมือถือหรือหูฟังมี อย่างอื่นไปพันไว้ จะส่งผลทำให้ความร้อนไม่สามารถระบายออกมาได้ แถมยังเป็นการทำให้สายชาร์จมือถือและหูฟังเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดีไม่ดีสายชาร์จมือถือหรือหูฟังอาจจะไหม้เอาง่ายๆหรือไฟฟ้าอาจจจะลัดวงจรได้ อีกด้วยนะครับ

ประเด็นเรื่องความร้อน

สรุปสั้นๆ ง่ายๆ เลยครับ ถ้าเมื่อไหร่ที่สายชาร์จโทรศัพท์สามารถจ่ายไฟได้เท่ากับที่ชาร์จโน็ตบุ๊ค ถึงตอนนั้นค่อยกังวลจะดีกว่าครับ เพราะ สายชาร์จโทรศัพท์เนี่ยระหว่างชาร์จกับไม่ชาร์จบอกตรงๆ ว่าความร้อนแทบจะไม่แตกต่างกันเลย ด้วยมันจ่ายไฟได้น้อยเกินกว่าที่จะมีความร้อนจนเป็นอันตรายต่อเครื่องและตัว มันเองครับ เพราะฉะนั้นเม็ดบีทฟรุ้งพริ้งอะไรนั่นสามารถพันได้ ไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับความร้อนแน่นอน ส่วนสายหูฟังเนี่ย ประเด็นนี้ถือว่าไร้สาระเอามากๆ เลยครับ สายหูฟังปกติมันก็แทบจะไม่มีความร้อนอยู่แล้ว ต่อให้พันด้วยเม็ดบีทสิบรอบยี่สิบรอบมันก็ไม่มีทางร้อนแล้วพังหรอกครับ
ที่อันตรายจริงๆ น่าจะเป็นการแปะสติ๊กเกอร์ที่ตัวอแดปเตอร์ หรือการไม่ยอมถอดพลาสติกที่หุ้มตัวอแดปเตอร์ออกแล้วนำไปชาร์จไฟจะทำให้เกิด ความร้อนและเป็นอันตรายมากกว่าเสียอีก

“เพราะฉะนั้น ทีมงาน NotebookSPEC ขอฟันธง!
พันสายชาร์จและสายหูฟังไม่ทำให้เกิดความร้อน
จนส่งผลต่ออายุของสายชาร์จและสายหูฟังแน่นอน!”

“ถ้าจะพังจริงๆ ก็พังตั้งแต่เอามือถือ ที่เอาไปติดฟิล์มใส่เคสแล้วล่ะครับ”

แล้วการพันสายชาร์จมีข้อเสียหรือไม่?

USB
ผู้ร้ายตัวจริงของการพันสายชาร์จและสายหูฟังไม่ ได้อยู่ที่ความร้อน แต่อยู่ที่น้ำหนักมากกว่า เพราะการที่เราร้อยเม็ดบีทเข้าไปที่สายชาร์จเนี่ย มันเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับสายชาร์จ ทีนี้ปัญหาจะเกิดเวลาที่เราใช้งานจริงๆ นี่แหละเวลาที่เราชาร์จไฟ น้ำหนักจากเม็ดบีทฟรุ้งฟริ้งจะไปรั้งสายชาร์จและอาจทำให้เกิดอันตรายต่อขั้ว สาย ทำให้ขั้วสายงอ และตามมาด้วยอาการขั้วสายหัก โดยเฉพาะสายชาร์จไอโฟนเนี่ยตัวดีเลย บอบบางเหลือเกิน
วิธีการแก้ไข ปัญหาขั้วสายชาร์จหักแบบบ้านๆ ง่ายนิดเดียว เพียงแค่นำสปริงปากกามาใส่บริเวณขั้วสายทั้ง 2 ฝั่งก็ช่วยได้เยอะเลยหล่ะ เครดิตภาพ: pantip.com
Spring
ส่วนการพันสายหูฟัง ข้อเสียของมันก็คือเป็นการสะสมคราบเหงื่อ ตาม ปกติแล้วหูฟังเวลาที่เราสวมใส่เนี่ย สายจะมีโอกาสแนบกับแก้มเราอยู่แล้ว และยิ่งถ้าใครนำสายหูฟังสอดไว้ใต้เสื้อ โอกาสที่สายหูฟังเจอเหงื่อก็จะยิ่งมีมากขึ้น แต่โดยปกติแล้วถ้าไม่มีอะไรมาหุ้มมันไว้เหงื่อก็จะแห้งไปเอง แต่ถ้ามีสิ่งของมาหุ้มมันเช่นเม็ดบีทเนี่ย ทำให้โอกาสที่จะเกิดการหมักหมมภายในสายหูฟังก็มีมากขึ้น ใช้ งานไปนานๆ หากแกะออกมาอาจจะทำให้ยี้ได้เลยทีเดียว นอกจากนี้เหงื่อยังเป็นตัวการที่ทำให้สายหูฟังปริและเกิดอาการสายขาดได้นะ ครับ เพราะฉะนั้นหลังใช้งานหูฟังเสร็จควรทำการเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาดอย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง ซึ่งถ้าเราร้อยเม็ดบีทเนี่ยจะทำให้การทำความสะอาดเป็นเรื่องยากไปทันที
584464
โดยสรุปแล้วการพันสายชาร์จมือถือกับหูฟังด้วย เม็ดบีทไม่ได้เป็นการทำให้ความร้อนจากการชาร์จไฟและการใช้งานสูงจนถึงในขนาด ที่ว่าส่งผลต่ออายุการใช้งานและทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้นะครับ แต่ปัญหาที่เกิดจากการพันสายไฟจริงๆ น่าจะเป็นเรื่องของน้ำหนักสายที่จะทำให้เกิดปัญหาสายชาร์จพังเพราะขั้วหัก มากกว่า เอาเป็นว่าก็พันได้แหละครับ สวยงามฟรุ้งฟริ้งกันไป แต่อย่าพันให้สายหนักจนเกินไปก็แล้วกันนะ
ข้อมูลจาก Specphone
ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> hitech.sanook.com

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เปิดตัว Galaxy S5 Active สมาร์ทโฟนเรือธงพันธุ์ถึกจากซัมซุง

 สมาร์ทโฟนเรือธงพันธุ์ถึกจากซัมซุง
มีภาพหลุดอวดโฉมมาได้ไม่นาน วันนี้ซัมซุงก็จัดการเปิดตัว Galaxy S5 Active สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นถึกและบึกบึนอย่างเป็นทางการ
ในปีนี้ Galaxy S5 Active เรียกได้ว่าหยิบไส้ในของ Galaxy S5 มาใส่ไว้ทั้งดุ้น (ปีก่อนลดหน้าจอ Super AMOLED เหลือเป็น TFT LCD) ทั้งหน้าจอ Super AMOLED ขนาด 5.1 ซีพียู Snapdragon 801 กล้องหลัง ISOCELL ความละเอียด 16 เมกะพิกเซล และมาตรฐานความป้องกันที่ระดับ IP67 กันน้ำได้ที่ความลึก 1 เมตร เป็นเวลา 30 นาที กันฝุ่นได้อย่างสมบูรณ์แบบ
สำหรับ Galaxy S5 Active ได้ตัดปุ่มโฮมสแกนลายนิ้วมือออกไป แต่เพิ่มปุ่มด้านข้างมาอีกปุ่มสำหรับเปิดใช้งานฟีเจอร์ Activity Zone เพื่อแสดงแสดงข้อมูลจากบารอมิเตอร์และเข็มทิศที่ผูกเข้ากับการใช้ชีวิตประจำ วันด้วย
เช่นเคย Galaxy S5 Active วางขายกับเครือข่าย AT&T ของสหรัฐฯ แบบติดสัญญา 2 ปีที่ 199 เหรียญ และ 715 เหรียญ (ประมาณ 23,500 บาท) แบบไม่ติดสัญญา ตัวเครื่องมีอยู่สามสีคือ เขียวลายพรางทหาร แดงทับทิม และเทาไทเทเนียมครับ
ที่มา - Android Authority
ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
บทความโดย: